รับทำถนน รับลาดยางมะตอย ปูยางมะตอย งานก่อสร้าง รับเหมาก่อสร้าง

บริการรับทำถนน รับลาดยางมะตอย ทำพื้นถนน

รับปูยางมะตอย รับลาดยางมะตอย ลาดยางแอสฟัลท์ รับลาดยาง รับทำถนน รับทำลาดจอดรถ ตีเส้นจราจร ทำพื้นโกดัง ยางมะตอย ราคาถูก คุณภาพเกินราคา บริการทั่วราชอาณาจักร โดยช่างผู้ชำนาญงานประสบการณ์มากกว่า 20 ปี

ไปที่บริการของเรา

ผลงานที่ผ่านมาของเรา


งานลาดยางมะตอยทับคอนกรีตเก่า เพื่อปรับพื้น และเพิ่มความสวยงาม
ความหนาเฉลี่ย 3 เซนติเมตร พื้นที่ 4,224 ตารางเมตร

2024-04-17    ชลบุรี

อ่านเพิ่มเติม
ทำสนามจักรยาน สนามสเก็ตบอร์ด และสนามกีฬา

2024-03-13    กรุงเทพมหานคร

อ่านเพิ่มเติม
ทำสนามจักรยาน สนามสเก็ตบอร์ด และสนามกีฬา

2024-03-13    กรุงเทพมหานคร

อ่านเพิ่มเติม
ตีเส้นจราจร ลานจอดรถ
ใช้สีเทอร์โมพลาสติก มาตรฐานกรมทางหลวง

2024-02-15    กรุงเทพมหานคร

อ่านเพิ่มเติม
งานปรับพื้นถนน และปรับแต่งภูมิทัศน์
ปรับปรุงถนนภายในแฟลตตำรวจ สน.ร่มเกล้า

2024-01-20    กรุงเทพมหานคร

อ่านเพิ่มเติม
งานลาดยางมะตอย

2023-12-22    กรุงเทพมหานคร

อ่านเพิ่มเติม
งานลาดยางมะตอย

2023-11-20    กรุงเทพมหานคร

อ่านเพิ่มเติม
ปรับพื้นด้วยหินคลุก

2023-11-15    กรุงเทพมหานคร

อ่านเพิ่มเติม
ปรับพื้นด้วยหินคลุก

   กรุงเทพมหานคร

อ่านเพิ่มเติม
ดูทั้งหมด

ทำไมถึงต้องเลือก ศิริมาตร์ ก่อสร้าง


บริการยอดเยี่ยม

บริการยอดเยี่ยม

เราทำการให้คำปรึกษา วางแผน ดูแล ช่วยเหลือ รวมไปถึงสร้างรอยยิ้ม ให้ทุกโปรเจคของลูกค้าประสบความสำเร็จ

ประสบการณ์ยาวนาน

ประสบการณ์ยาวนาน

เรามีช่างมืออาชีพที่มีประสบการณ์ทำงานจริงกว่า 30 ปี วัสดุและเครื่องจักรที่ใช้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐาน

บริการยอดเยี่ยม

วัสดุคุณภาพ

เราใช้วัสดุในการทำถนนและใช้วัสดุในการก่อสร้างที่มีคุณภาพ เพื่อให้งานของเราออกมาทนทาน ใช้งานได้ยาวนาน

เป็นมืออาชีพ

เป็นมืออาชีพ

มีการรับประกันผลงาน ทุกงาน(ตามเงื่อนไขของบริษัท)

บริการยอดเยี่ยม

วิศวกร & สถาปนิก

ไม่ว่าจะเป็นงานเล็กหรืองานใหญ่ เรามีผู้เชี่ยวชาญควบคุมงานอย่างใกล้ชิด

บริการยอดเยี่ยม

ให้คำปรึกษา

เราให้คำปรึกษาในการสร้างถนน งานก่อสร้าง อย่างตรงไปตรงมา ซื่อสัตย์ในอาชีพ

บริการยอดเยี่ยม

คุ้มค่าคุ้มราคา

คุณภาพและราคาเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญที่สุด เราจะทำให้ลูกค้าได้ของที่มีคุณภาพที่สุด ในราคาที่ลูกค้าพอใจ

ยินดีต้อนเข้าสู่ ศิริมาตร์ ก่อสร้าง

พวกเราบริการรับลาดยางทำพื้นถนน

และงานก่อสร้างอย่างครบวงจร เรารับปูยางมะตอย ลาดยางมะตอย ลาดยางแอสฟัลท์ รับลาดยาง รับทำถนน รับทำลาดจอดรถ ตีเส้นจราจร ทำพื้นโกดัง ยางมะตอย ราคาถูก คุณภาพเกินราคา บริการทั่วราชอาณาจักร โดยช่างผู้ชำนาญงานประสบการณ์มากกว่า 20 ปี

เรามุ่งสู่การเป็นที่หนึ่ง เรื่องการรับสร้างถนนและงานก่อสร้าง มุ่งเน้นให้ลูกค้าได้รับงานที่มีคุณภาพ ราคาเป็นธรรมเหมาะสม เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นงานเล็กหรืองานใหญ่

เราดำเนินธุรกิจอย่างซื่อสัตย์ และซื่อตรงในคุณภาพ ให้คำปรึกษาอย่างตรงไปตรงมา พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ โดยสร้างผลงานที่มีคุณภาพ ตรงเวลา ราคายุติธรรม

ความปลอดภัยในการทำงาน เราให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ด้วยประสบการณ์และทักษะในงานก่อสร้างและระบบในการรักษาความปลอดภัยที่ครอบคลุมในทุกๆด้าน และการมุ่งเน้นในเรื่องการปลุกจิตสำนึกด้านความปลอดภัยให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องความปลอดภัย โดยมีระบบการฝึกอบรมพนักงานก่อเข้าปฏิบัติงาน

ลูกค้าของเรา!


บริการของเรา


บริการสร้างถนนอย่างครบวงจร

ถมที่, ปรับพื้นหินคลุก ,สเปรย์น้ำยางCRS2, ปูยางแอสฟัลท์ติคอนกรีต(HOT MIX), งานถนนคอนกรีต งานวางท่อระบายน้ำ, งานตีเส้นจราจร

รับทำลานสเก็ตบอร์ด

รับทำลานสเก็ตบอร์ดและสนามจักรยาน แบบครบวงจร ที่นั่งพักผ่อน สวนหย่อม สนามพื้นเรียบสำหรับ ผู้ฝึกหัดเล่นใหม่ , สนามสำหรับสายสตรีทและสนามแบบมืออาชีพ แบบครบวงจร

จำหน่ายยางมะตอย(HOT MIX)

เราทำการจำหน่ายยางมะตอย หลายชนิดหลากหลายชนิด ตามความเหมาะสมกับการใช้งาน ทั้งปลีกและส่ง มั่นใจได้ ในคุณภาพ

งานก่อสร้างแบบครบวงจร

รับเหมาก่อสร้าง บ้าน อาคารพาณิชย์ อาคารสำนักงาน งานรีโนเวท และงานต่อเติมทุกประเภท

  • หากท่านยังไม่มีแบบก่อสร้าง เราออกแบบให้ท่านได้ ซึ่งหากเราได้รับงานก่อสร้าง งานทำแบบนั้นท่านจะได้รับฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
  • หากท่านมีแบบแล้ว เราตีราคาให้ท่านฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
  • งานต่อเติม เราออกแบบให้ท่าน พร้อมตีราคาฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ

สาระความรู้


ยางมะตอยคืออะไร มีความสำคัญอย่างไรต่ออุตสาหกรรม
ยางมะตอย หรือมีชื่อเต็มว่า แอสฟอลต์คอนกรีต (asphalt concrete) และมักย่อว่า แอสฟอลต์เป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในงานก่อสร้าง โดยเฉพาะในงานสร้างถนนและโครงสร้างพื้นฐานด้านการจราจร เนื่องจากมีคุณสมบัติที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรง ทนทาน และปลอดภัย ยางมะตอยมีลักษณะเป็นของเหลวข้นหนืด หรือของแข็งสีดำ ที่เกิดจากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบในโรงกลั่น หรืออาจเกิดตามธรรมชาติในบางพื้นที่ เช่น บ่อน้ำมันดิบธรรมชาติและทะเลสาบยางมะตอย เมื่อเข้าใจถึงคุณสมบัติคร่าวๆแล้ว  ต่อไปเราจะมาทำความรู้จักกับ ประเภทของยางมะตอย กัน ซึ่งแต่ละชนิดถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันในงานก่อสร้างหลากหลายรูปแบบ ในด้านความทนทาน และความสะดวกในการใช้งาน  ประเภทของยางมะตอย แอสฟัลต์ซีเมนต์ (Asphalt Cement) เป็นยางมะตอยที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ มีลักษณะเป็นของแข็งหรือกึ่งของแข็งที่อุณหภูมิห้อง ไม่มีการผสมสารเติมแต่งหรือสารเคมีอื่น ๆ และเปลี่ยนเป็นของเหลวเมื่อได้รับความร้อน มีคุณสมบัติเด่นยึดเกาะดี ทนทานต่อสภาพอากาศและการสึกกร่อน ใช้ในงานก่อสร้างถนน สนามบิน และโครงสร้างที่ต้องการความแข็งแรงและทนทาน สามารถรีไซเคิลและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ทำให้เป็นวัสดุที่ยั่งยืนและเหมาะสำหรับงานพื้นฐานต่าง  แอสฟัลต์อิมัลชัน (Asphalt Emulsion) เป็นยางมะตอยชนิดหนึ่งที่ผสมกับน้ำและสารเพิ่มประสิทธิภาพ เพื่อให้ยางมะตอยกระจายตัวในน้ำอย่างสม่ำเสมอ มีลักษณะเป็นของเหลวที่ใช้งานได้ง่าย ไม่ต้องใช้ความร้อนสูง ช่วยลดพลังงานในการผลิตและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แอสฟัลต์อิมัลชันเหมาะกับงานเคลือบผิวถนน งานซ่อมแซมพื้นผิว และงานก่อสร้างแบบเย็น ด้วยคุณสมบัติยึดเกาะดีและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ จึงเป็นวัสดุที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนสำหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน คัตแบกแอสฟัลต์ (Cutback Asphalt) คือยางมะตอยที่ผสมกับตัวทำละลาย เช่น น้ำมันเบนซิน เพื่อให้ใช้งานง่ายที่อุณหภูมิห้อง ตัวทำละลายจะระเหยออกหลังการใช้งาน ทำให้ยางมะตอยยึดติดกับพื้นผิว มักใช้ในการเคลือบผิวถนนและซ่อมแซมหลุมบ่อ แต่ต้องระวังการปล่อยมลพิษจากตัวทำละลาย ซึ่งประเภทนี้ก็มีแยกออกไปอีก 3 ประเภทหลัก มีดังนี้ Rapid-Curing (RC), Medium-Curing (MC), และ Slow-Curing (SC) ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีความเร็วในการระเหยของตัวทำละลายที่แตกต่างกัน  โพลีเมอร์ โมดิฟายด์ แอสฟัลต์ (Polymer Modified Asphalt) คือยางมะตอยที่ผสมกับโพลีเมอร์ เช่น SBS หรือ EVA เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและทนทานให้ดียิ่งขึ้น โพลีเมอร์ช่วยให้แอสฟัลต์ทนต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิได้ดีขึ้น ทนต่อการสึกหรอ และช่วยยืดอายุการใช้งานของถนน โดยมักใช้ในงานก่อสร้างถนนที่มีการจราจรหนาแน่นหรือสนามบินที่ต้องการวัสดุทนทานสูง รวมทั้งถนนที่ต้องทนต่อสภาพอากาศรุนแรง กระบวนการหรือขั้นตอนการผลิตยางมะตอย การสกัดน้ำมันดิบ เป็นกระบวนการแรกๆ โดยเริ่มจากการสำรวจแหล่งน้ำมันใต้ดินหรือใต้ทะเล จากนั้นทำการขุดเจาะและปั๊มน้ำมันดิบขึ้นมา เมื่อได้แล้วจะต้องแยกสารปนเปื้อน เช่น น้ำและก๊าซ ก่อนส่งน้ำมันดิบไปยังโรงกลั่นเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เบนซิน, ดีเซล, หรือยางมะตอย กระบวนการนี้ต้องใช้เทคโนโลยีและการจัดการที่แม่นยำเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ การกลั่นน้ำมันดิบ เป็นกระบวนการที่แยกส่วนประกอบของน้ำมันตามจุดเดือด โดยเริ่มจากการกลั่นแบบธรรมดาเพื่อแยกผลิตภัณฑ์หลัก เช่น เบนซินและดีเซล จากนั้นใช้การกลั่นแบบสุญญากาศเพื่อแยกส่วนที่มีจุดเดือดสูง เช่น ยางมะตอย และสุดท้ายปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับการใช้งานต่างๆ ทำให้ให้ผลิตภัณฑ์ได้คุณภาพดีขึ้น เช่น การขจัดสารพิษหรือการเติมสารที่ช่วยปรับปรุงคุณสมบัติของน้ำมัน การปรับปรุงคุณภาพแอสฟัลต์ คือกระบวนการที่ทำเพื่อเพิ่มคุณสมบัติและประสิทธิภาพของแอสฟัลต์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยเฉพาะในงานก่อสร้างถนนและโครงสร้างพื้นผิวอื่นๆ การปรับปรุงคุณภาพแอสฟัลต์มักทำได้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น เติมโพลิเมอร์เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและทนทาน, ใช้สารเคมีหรือสารสังเคราะห์ในการปรับปรุงความทนทาน, ควบคุมอุณหภูมิการผลิตให้ต่ำลงเพื่อประหยัดพลังงาน และการเพิ่มวัสดุรีไซเคิล (RAP) เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มความแข็งแรง การผสมแอสฟัลต์กับวัสดุมวลรวม เป็นกระบวนการผสมแอสฟัลต์ (ยางมะตอย) กับวัสดุมวลรวม เช่น หินกรวดและทราย โดยการให้ความร้อนทั้งแอสฟัลต์และวัสดุมวลรวมเพื่อให้แอสฟัลต์มีความหนืดที่เหมาะสม จากนั้นจะผสมในเครื่องผสมให้เข้ากันอย่างทั่วถึง การควบคุมคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ได้ส่วนผสมที่แข็งแรงและทนทาน ใช้ในการก่อสร้างถนนและพื้นผิวต่างๆ การควบคุมคุณภาพแอสฟัลต์ ก็จะมีการตรวจสอบหลายอย่างด้วยกัน เช่น การดูว่าสัดส่วนผสมระหว่างแอสฟัลต์กับวัสดุมวลรวมได้มาตรฐานไหม, ความหนืดของแอสฟัลต์พอเหมาะหรือเปล่า, และวัสดุมวลรวมที่ใช้มีคุณภาพดีไหม มีขนาดที่เหมาะสมหรือเปล่า นอกจากนี้ยังต้องทดสอบความทนทานของแอสฟัลต์ เช่น ดูว่าต้านทานการสึกหรอได้ดีไหม และต้องมั่นใจว่าการผสมแอสฟัลต์กับวัสดุมวลรวมทำได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้แอสฟัลต์มีคุณภาพดีและใช้งานได้ยาวนาน ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพของยางมะตอยมีอะไรบ้าง? คุณภาพของน้ำมันดิบ: การเลือกน้ำมันดิบที่ใช้ในการผลิตยางมะตอยต้องมีคุณภาพดี เพราะจะช่วยให้ยางมะตอยทนทานขึ้น ทั้งในเรื่องความยืดหยุ่นและความต้านทานต่อการเสื่อมสภาพ การเลือกน้ำมันดิบที่ดีทำให้ยางมะตอยมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น และทนต่อการเปลี่ยนแปลงของอากาศได้ดีกว่า อุณหภูมิและเวลาในการผสม: การควบคุมอุณหภูมิและเวลาที่ใช้ในการผสมยางมะตอยก็สำคัญมากเช่นกัน ถ้าอุณหภูมิสูงเกินไปหรือผสมเวลานานเกินไปอาจทำให้ยางมะตอยเสื่อมสภาพเร็ว หรือสูญเสียคุณสมบัติที่ต้องการได้ ถ้าอุณหภูมิไม่พอหรือผสมไม่ถึงที่ก็อาจทำให้ส่วนผสมไม่ยึดติดกันดี ชนิดและปริมาณของวัสดุมวลรวม: วัสดุมวลรวมอย่างหินหรือแร่ที่ใช้ในยางมะตอยก็มีผลต่อความแข็งแรง ถ้าวัสดุไม่ดีหรือมีขนาดไม่เหมาะสมก็จะทำให้ยางมะตอยไม่ทนทาน เมื่อใช้งานจริงอาจเกิดรอยแตกหรือเสียหายได้ง่ายขึ้น สารเติมแต่ง: สารเติมแต่ง เช่น สารที่ช่วยปรับสภาพหรือสารกันรั่ว เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเพิ่มคุณสมบัติของยางมะตอยให้ดีขึ้น เช่น ความยืดหยุ่นหรือความต้านทานต่อการเสื่อมสภาพจากแดดและความร้อน ช่วยให้ยางมะตอยใช้งานได้นานและทนทานต่อการใช้งานในสภาพอากาศต่างๆ ลดการเกิดรอยแตก เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตยางมะตอย ระบบควบคุมอุณหภูมิและเวลาที่แม่นยำ: การควบคุมอุณหภูมิและเวลาในกระบวนการผลิตยางมะตอยเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง การใช้ระบบอัตโนมัติในการควบคุมอุณหภูมิช่วยลดความผิดพลาดและรักษาคุณสมบัติของยางมะตอยให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ระบบการผสมที่ทันสมัย: การผสมวัสดุที่ใช้ในการผลิตยางมะตอย เช่น ยางและสารเติมแต่งอื่น ๆ มีความสำคัญต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ระบบการผสมที่ทันสมัยสามารถทำให้การผสมวัสดุต่าง ๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการปรับสภาพให้เหมาะสมกับการใช้งานแต่ละรูปแบบ ระบบการตรวจสอบคุณภาพอัตโนมัติ: การใช้เทคโนโลยีในการตรวจสอบคุณภาพของยางมะตอยอย่างอัตโนมัติช่วยให้มั่นใจว่าแต่ละขั้นตอนการผลิตจะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงและตรงตามมา ตรฐานที่กำหนดตามที่เราต้องการ ระบบตรวจสอบนี้มักใช้เซ็นเซอร์และซอฟต์แวร์ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำและรวดเร็ว ยางมะตอยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านใดได้บ้าง ยางมะตอย (Asphalt) เป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมในการก่อสร้างและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เนื่องจากมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับงานที่ต้องการความทนทานและความยืดหยุ่นสูง เช่น การทำถนน ที่มักใช้เพราะสามารถรองรับการใช้งานหนักและการกระแทกได้ดีแต่ทั้งนี้ยางมะตอยไม่ใช่แค่ทำถนนอย่างเดียว จะมีอะไรบ้าง? เราจะมายกตัวอย่างกันตามข้างล่างนี้ ใช้ในการก่อสร้างถนน อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่ายางมะตอยเป็นวัสดุหลักที่ใช้ในการก่อสร้างถนน เนื่องจากมันมีคุณสมบัติ ทนทานจากการใช้งานจราจรอย่างหนักยึด และเกราะดีเยี่ยม นอกจากนี้ยังทนทานต่อสภาพอากาศทั้งร้อนและเย็น ซึ่งเป็นข้อดีในการใช้งานในพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว การใช้ยางมะตอยในการก่อสร้างถนนจึงสามารถเพิ่มอายุการใช้งานของถนนและลดต้นทุนการบำรุงรักษาในระยะยาวได้ ก่อสร้างทางเท้า นอกจากใช้สร้างถนน ยางมะตอยยังถูกนำมาใช้ในก่อสร้างทางเท้า โดยเฉพาะในเมืองที่มีการเดินทางของคนมาก ซึ่งต้องการวัสดุที่ทนทานและไม่เกิดการผุกร่อนจากการเดินเหยียบหรือการกระแทกจากสิ่งของต่างๆ ยางมะตอยสามารถช่วยให้พื้นผิวทางเท้ามีความเรียบและยืดหยุ่น ไม่ให้เกิดการแตกร้าวง่าย และยังมีการดูดซับแรงกระแทกได้ดีอีกด้วย ก่อสร้างลานจอดรถ การใช้ยางมะตอยในการก่อสร้างลานจอดรถสามารถรองรับน้ำหนักของรถยนต์และการจอดรถได้ดี เนื่องจากยางมะตอยมีคุณสมบัติในการกระจายแรงกดที่เกิดจากการจอดรถ ซึ่งช่วยลดการเกิดหลุมบ่อที่อาจเกิดขึ้นในลานจอดรถที่ใช้วัสดุอื่น นอกจากนี้ยังช่วยให้การซ่อมแซมลานจอดรถทำได้ง่ายและรวดเร็ว ก่อสร้างลานจอดรถ เนื่องจากยางมะตอยมีคุณสมบัติในการกระจายแรงกดได้ การใช้ยางมะตอยในการก่อสร้างลานจอดรถสามารถรองรับน้ำหนักของรถยนต์และการจอดรถได้ดี และยังช่วยลดการเกิดหลุมบ่อที่อาจเกิดขึ้นในลานจอดรถที่ใช้วัสดุอื่น  ก่อสร้างทางวิ่งอากาศยาน (รันเวย์สนามบิน) การที่ยางมะตอยถูกใช้ในการก่อสร้างทางวิ่งของเครื่องบิน หรือรันเวย์ เพราะมันมีความทนทานต่อแรงกระแทกที่มาจากการขึ้นลงของเครื่องบิน ทนทานต่อความร้อนสูงที่เกิดจากการเบรกของเครื่องบินในขณะลงจอด ยางมะตอยสามารถทนต่อสภาพแวดล้อมที่มีการใช้งานหนักได้ดี อีกทั้งยังสามารถซ่อมแซมได้ง่ายเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้น ก่อสร้างเขื่อนกันน้ำ การนำวัสดุนี้มาใช้เพื่อเสริมความสามารถในการป้องกันการรั่วซึมของน้ำ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการสร้างเขื่อนที่มีหน้าที่ควบคุมน้ำ หรือป้องกันน้ำจากการกัดเซาะพื้นที่ในระดับต่างๆ การที่ยางมะตอยถูกนำมาใช้เป็นวัสดุกันซึมในโครงสร้างเขื่อน เนื่องจากมันมีคุณสมบัติในการกันน้ำและป้องกันการรั่วซึมได้ดี การใช้ยางมะตอยในการก่อสร้างเขื่อนสามารถช่วยเพิ่มความมั่นคง ความปลอดภัยในการใช้งาน ความทนทานกับสภาพอากาศและแรงดันน้ำ วัสดุปูพื้น ยางมะตอยยังสามารถนำไปใช้เป็นวัสดุปูพื้นในพื้นที่ต่างๆ เช่น สนามกีฬา, สวนสาธารณะ, หรือพื้นที่กิจกรรมกลางแจ้ง เพราะมันมีความทนทานต่อสภาพอากาศและสามารถรองรับการใช้งานหนักจากกิจกรรมต่างๆ ได้ดี  วัสดุกันซึม นอกจากการใช้ยางมะตอยในการสร้างเขื่อนแล้วเพราะมีคุณสมบัติป้องกันการซึมของน้ำและคงทน ยางมะตอยยังเป็นวัสดุกันซึมที่ใช้ในงานก่อสร้าง เช่น หลังคา ผนัง และพื้นดิน เพื่อป้องกันน้ำซึมผ่านและทนทานต่อความชื้น อีกทั้งยังใช้ทำท่อระบายน้ำหรือท่อส่งน้ำ เนื่องจากมีความยืดหยุ่นและทนต่อการกัดกร่อนจากสารเคมีและการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ วัสดุผสมคอนกรีต ในบางกรณี ยางมะตอยจะถูกนำมาผสมกับคอนกรีตเพื่อเพิ่มความทนทานและความยืดหยุ่นให้กับคอนกรีต เช่น การสร้างทางเดิน, พื้นถนน, หรือโครงสร้างที่ต้องทนต่อการสั่นสะเทือนหรือแรงกระแทก ยางมะตอยจะช่วยปรับปรุงคุณสมบัติของคอนกรีตให้มีความแข็งแรงและยืดหยุ่นมากขึ้น คุณสมบัติและข้อดีของการใช้ยางมะตอย ทนทานต่อสภาพอากาศ: ยางมะตอยมีความสามารถในการทนต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เช่น ความร้อนและความเย็น ซึ่งทำให้สามารถใช้งานได้ดีในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย มีความยืดหยุ่น: ยางมะตอยมีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับตัวตามสภาพการใช้งานต่าง ๆ ได้ดี ช่วยลดการเกิดรอยแตกหักหรือความเสียหายจากการเคลื่อนที่ของพื้นผิว กันน้ำได้: ยางมะตอยเป็นวัสดุที่ไม่ดูดซึมน้ำ จึงเหมาะสมกับการใช้ในพื้นที่ที่มีความชื้นหรือพื้นที่ที่ต้องการป้องกันการซึมผ่านของน้ำ ติดตั้งง่าย: การติดตั้งยางมะตอยนั้นสะดวกและรวดเร็ว เพียงแค่ผสมกับวัสดุอื่น ๆ และเทลงบนพื้นผิวที่ต้องการใช้งาน ราคาไม่แพง: ยางมะตอยมีราคาที่ค่อนข้างถูกเมื่อเทียบกับวัสดุอื่น ๆ ทำให้เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการใช้งานในโครงการที่ต้องการประหยัดงบประมาณ ปัญหาและข้อจำกัดในการใช้ยางมะตอย จากที่กล่าวมาแม้ยางมะตอยจะมีคุณสมบัติหลายอย่างที่ดี แต่ก็มีปัญหาและข้อจำกัดบางประการที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใช้งาน มีหลักๆดังนี้ ความทนทานต่ออุณหภูมิ ยางมะตอยอาจมีปัญหากับอุณหภูมิสูง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีอากาศร้อนจัด ซึ่งอาจทำให้ยางมะตอยอ่อนตัวหรือหลอมละลายได้ ส่งผลให้พื้นผิวอาจเสียหายหรือเกิดการยุบตัว แล้วถ้าหากมีอุณหภูมิหนาวจัด ยางมะตอยก็อาจจะแข็งตัวหรือแตกร้าวได้ง่าย การเสื่อมสภาพ พื้นยางมะตอยที่กระทบแสงแดดและมลพิษจากการจราจรทำให้ยางมะตอยเสื่อมสภาพเร็วกว่าที่ควร และการเกิดการสึกหลอจากการใช้ระยะยาว ทำให้ยางมะตอยสูญเสียความแข็งแรงและทนทาน ซึ่งอาจจะพื้นผิวแตกหักหรือมีรอยแตกร้าวได้ ข้อควรพิจารณาในการเลือกใช้ยางมะตอย การเลือกใช้ยางมะตอยให้เหมาะสมกับงานก่อสร้างหรือโครงการต่าง ๆ ควรพิจารณาในหลายด้านเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีและคุ้มค่า ดังนี้ ประเภทของยางมะตอย ยางมะตอยมีหลายประเภทตามที่ได้อธิบายไปก่อนหน้านี้ ควรเลือกให้เหมาะกับการใช้งาน ความเร็วในการติดตั้ง และอายุการใช้งาน สภาพแวดล้อม พิจารณาสภาพอากาศในพื้นที่ เช่น อุณหภูมิ, ความชื้น, และปริมาณน้ำฝน สำหรับพื้นที่ที่ต้องรองรับการจราจรหนาแน่นหรือพื้นที่ที่มีแรงกระแทกสูง ควรเลือกยางมะตอยที่มีความแข็งแรงและยืดหยุ่นสูง ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพและความทนทานของยางมะตอย งบประมาณ นอกจากการคำนวณต้นทุนของวัสดุ ที่เราต้องเลือกให้สมเหตุสมผล เข้ากับการใช้งาน และความคุ้มค่า ยังต้องคำนวณค่าแรงงานและค่าใช้จ่ายในระยะยาวอีกด้วย เช่น ถ้าเลือกวัสดุที่มีคุณภาพต่ำ ในอนาคตอาจจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ตัวอย่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับยางมะตอยที่คุณควรทราบ ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้เกิดนวัตกรรมและการพัฒนาวัสดุยางมะตอยในรูปแบบใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ทนทานต่อการใช้งาน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเราจะยกตัวอย่าง 3 นวัตกรรม ซึ่งนวัตกรรมเหล่านี้ที่เราจะยกตัวอย่าง ไม่เพียงช่วยยกระดับคุณภาพของถนน แต่ยังช่วยลดต้นทุนและส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนอีกด้วย มีดังนี้ ยางมะตอยผสมโพลิเมอร์ (Polymer-Modified Asphalt) เป็นนวัตกรรมที่ช่วยปรับปรุงคุณสมบัติของยางมะตอยให้มีความทนทาน ยืดหยุ่น และเหมาะสมกับการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย เช่น การใช้ SBS หรือ EVA เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและลดการแตกร้าว ยางมะตอยนาโนสำหรับโครงการที่ต้องการความเสถียรสูง และยางมะตอยที่ทนต่ออุณหภูมิสูงสำหรับพื้นที่เขตร้อน นวัตกรรมเหล่านี้ช่วยยืดอายุการใช้งาน ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม และเพิ่มความปลอดภัยของโครงสร้างพื้นฐานในระยะยาว เช่น ถนนทางหลวง สนามบิน  สะพาน และพื้นที่ในเขตเมือง ยางมะตอยรีไซเคิล (Recycled Asphalt) คือการนำยางมะตอยเก่ามาปรับปรุงและนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อลดของเสียและประหยัดต้นทุน ตัวอย่างนวัตกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การผสมยางมะตอยรีไซเคิลกับยางมะตอยใหม่ (RAP), การรีไซเคิลแบบร้อนและเย็น, การผสมกับวัสดุใหม่ ซึ่งนวัตกรรมนี้ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ยางมะตอยผสมวัสดุเหลือใช้ นวัตกรรมที่เป็นแนวทางที่ได้รับความสนใจในหลายปีที่ผ่านมา เพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนและลดปัญหาขยะจากวัสดุเหลือใช้ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความทนทานของถนน ตัวอย่างเช่น การผสมยางรถยนต์เก่าช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น, พลาสติกรีไซเคิลช่วยทนต่ออุณหภูมิสูง, และวัสดุจากการก่อสร้างช่วยลดของเสียและเพิ่มความแข็งแรงของพื้นผิว การใช้วัสดุเหลือใช้ช่วยลดต้นทุน “ยางมะตอยในอนาคต: ความทนทานและยั่งยืนที่คุณไม่ควรพลาด” ยางมะตอยในยุคใหม่ไม่เพียงแค่ช่วยให้การก่อสร้างและซ่อมแซมถนนเป็นเรื่องง่ายขึ้น แต่ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและรองรับความต้องการในอนาคต ด้วยการใช้วัสดุรีไซเคิล เช่น ยางรถยนต์เก่าและพลาสติกรีไซเคิล เรากำลังช่วยลดขยะและสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน และเพื่อความทนทานที่เหนือชั้น ยางมะตอยผสมโพลิเมอร์และนาโนเทคโนโลยีจะทำให้ถนนของคุณแข็งแรงและยืดหยุ่นมากขึ้น พร้อมรับมือกับทุกสภาพอากาศ ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิสูงหรือต่ำ, หรือการจราจรที่หนาแน่น และถ้าหากคุณกำลังมองหาผลิตภัณฑ์ยางมะตอยที่มีคุณภาพสูงและเหมาะสมกับทุกประเภทของโครงการก่อสร้าง บริษัท ศิริมาตร์ ก่อสร้าง คือคำตอบของคุณ! ด้วยประสบการณ์มากกว่า 20 ปีและความเชี่ยวชาญในการจัดหาผลิตภัณฑ์ยางมะตอยที่ทันสมัยและมีคุณสมบัติทนทานสูง และมีบริการให้คำปรึกษา วางแผน ดูแล ช่วยเหลือ รวมไปถึงสร้างรอยยิ้ม ให้ทุกโปรเจคของลูกค้าประสบความสำเร็จ  

2024-12-13 06:27:27

อ่านเพิ่มเติม
ประเภทและรูปแบบของถนนในประเทศไทย
ถนนคืออะไร ถนน คือ เส้นทางหรือพื้นที่ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้การเดินทางสัญจรเป็นไปได้โดยสะดวก โดยทั่วไปพื้นถนนจะออกแบบให้เหมาะสมกับการขับขี่ ซึ่งมีลักษณะเป็นพื้นผิวแข็งหรือวัสดุต่างๆ เช่น คอนกรีต ยางมะตอย หรือหินกรวด เพื่อให้การเดินทางสะดวกและปลอดภัยของยานพาหนะและผู้คน อีกทั้ง ถนนยังมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงสถานที่ต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นในเขตเมืองหรือชนบท ซึ่งช่วยให้การเดินทางไปมาระหว่างพื้นที่ต่างๆ เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ การออกแบบถนนจะขึ้นอยู่กับการใช้งานและลักษณะของพื้นที่ เช่น ถนนในเขตเมืองจะมีการออกแบบเพื่อรองรับการจราจรที่หนาแน่นและการเดินทางของผู้คนในปริมาณมาก มักปูพื้นด้วยคอนกรีตหรือวัสดุที่ทนทานต่อการสึกหรอ เพราะเหมาะสำหรับการสัญจรด้วยรถยนต์และรถบรรทุก  นอกจากนี้ ถนนยังมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยช่วยอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายผู้คนและสินค้าระหว่างพื้นที่ต่างๆ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นการเติบโตของชุมชนและประเทศ การแบ่งตามลักษณะการใช้งาน ถนนสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 แบบหลักๆ ตามลักษณะการใช้งาน ได้แก่ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (Motorway)ถนนที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับการเดินทางของยานพาหนะที่มีความเร็วสูง เช่น รถยนต์และรถบรรทุก ให้เดินทางได้รวดเร็วเป็นพิเศษ มักใช้สำหรับการเดินทางระยะไกล  ทางหลวงแผ่นดิน (National Highway)ถนนสายหลักที่สร้างขึ้นเพื่อเชื่อมโยงระหว่างจังหวัดหรือพื้นที่ต่างๆ ในประเทศ มักใช้สำหรับการเดินทางระยะไกลและเพิ่มความสะดวกในการเดินทางระหว่างภูมิภาคต่างๆ ทางหลวงชนบท (Rural Road)ถนนที่สร้างขึ้นเพื่อเชื่อมโยงพื้นที่ชนบท มักใช้สำหรับการเดินทางระหว่างหมู่บ้านหรือตำบลที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลจากตัวเมืองใหญ่  ถนนเทศบาล (Municipal Road)ถนนที่ถูกสร้างและดูแลโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มักใช้สำหรับการเดินทางภายในเขตเมืองหรือหมู่บ้าน และเชื่อมโยงพื้นที่ต่างๆ ภายในท้องถิ่นเดียวกัน ถนนท้องถิ่น/ถนนหมู่บ้าน (Local Road)ถนนที่สร้างขึ้นเพื่อเชื่อมโยงภายในชุมชนหรือหมู่บ้านต่างๆ โดยส่วนใหญ่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีหน้าที่ในการดูแลและบำรุงรักษาถนน การแบ่งตามลักษณะพื้นผิวถนน ถนนสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 แบบ ตามลักษณะพื้นผิวถนน ได้แก่ ถนนคอนกรีตถนนที่มีการใช้คอนกรีตเป็นวัสดุหลักในการสร้างพื้นผิวของถนน มักถูกใช้ในพื้นที่ที่ต้องการความทนทานสูงและสามารถรับน้ำหนักของยานพาหนะที่มีความหนักได้ดี ถนนลาดยางถนนที่มีการใช้ยางมะตอย (แอสฟัลต์) เป็นวัสดุปูพื้นผิวของถนน เพื่อสร้างความราบเรียบและแข็งแรง สามารถรับน้ำหนักของยานพาหนะที่มีความหนักได้ดี ถนนลูกรังถนนที่มีพื้นผิวที่ทำจากหินกรวดที่ไม่ผ่านการปรับปรุงให้แข็งแรงเหมือนถนนประเภทอื่นๆ มักใช้ในพื้นที่ชนบทที่มีการเดินทางไม่หนาแน่นมาก  ถนนดินถนนที่มีพื้นผิวที่ทำจากดินหรือทรายธรรมชาติ มักพบในพื้นที่ชนบทหรือพื้นที่ห่างไกล ใช้สำหรับการเดินทางที่ไม่หนาแน่นหรือในพื้นที่ที่การพัฒนาถนนยังไม่ครอบคลุม ถนนหินคลุกถนนที่มีพื้นผิวที่ทำจากหินหรือกรวดขนาดเล็กที่คลุกเคล้ากับทรายและวัสดุอื่นๆ มักใช้ในพื้นที่ชนบทที่การเดินทางไม่หนาแน่น  การแบ่งตามขนาดช่องจราจร ถนนสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 แบบ ตามขนาดช่องจราจร ได้แก่ ถนนขนาด 8 ช่องจราจรถนนที่มีช่องทางเดินรถทั้งหมด 8 ช่อง โดยทั่วไปจะมีช่องทางสำหรับรถยนต์และรถบรรทุก เพื่อรองรับการจราจรที่หนาแน่นและเพิ่มความสะดวกในการเดินทาง เช่น ทางหลวงหมายเลข 304 สายอำเภอบางคล้า - อำเภอพนมสารคาม  ถนนขนาด 6 ช่องจราจรถนนที่มีช่องทางเดินรถทั้งหมด 6 ช่อง โดยแบ่งเป็นช่องทางสำหรับการเดินทางในทิศทางต่างๆ ซึ่งมักใช้ในพื้นที่ที่มีการจราจรหนาแน่น เช่น ทางหลวงหมายเลข 3 สายบางปู-อำเภอบางปะกง ถนนขนาด 4 ช่องจราจรถนนที่มีช่องทางเดินรถทั้งหมด 4 ช่อง โดยแบ่งเป็น 2 ช่องทางในแต่ละทิศทาง เพื่อรองรับการจราจรที่ไม่หนาแน่นมากให้สามารถเดินทางได้คล่องตัว ถนนขนาด 2 ช่องจราจรถนนที่มีช่องทางเดินรถทั้งหมด 2 ช่อง โดยแบ่งเป็น 1 ช่องทางสำหรับการเดินทางในแต่ละทิศทาง เหมาะสำหรับการเดินทางที่มีการจราจรที่ไม่หนาแน่นมาก และมักใช้ในเขตชนบทหรือพื้นที่ที่การจราจรไม่คับคั่ง ถนนขนาด 1 ช่องจราจรถนนที่มีช่องทางเดินรถเพียง 1 ช่องทางในแต่ละทิศทาง โดยมักใช้ในพื้นที่ที่มีการจราจรเบาบาง เช่น ในหมู่บ้านหรือทางหลวงที่มีการใช้งานไม่หนาแน่น การแบ่งตามหน่วยงานที่รับผิดชอบ ถนนสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 แบบ ตามหน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้แก่ ถนนในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงถนนที่อยู่ภายใต้การดูแลและบำรุงรักษาของกรมทางหลวง ซึ่งมีหน้าที่ในการสร้างและดูแลทางหลวงหลักที่เชื่อมโยงระหว่างจังหวัดและระหว่างภาคต่างๆ  ถนนในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบทถนนที่กรมทางหลวงชนบทรับผิดชอบในการก่อสร้างและบำรุงรักษา ซึ่งถนนเหล่านี้มักอยู่ในพื้นที่ชนบท โดยมีเป้าหมายเพื่อเชื่อมโยงหมู่บ้านหรือพื้นที่ต่างๆ ระดับท้องถิ่นเข้าด้วยกัน ถนนในความรับผิดชอบของเทศบาลถนนที่อยู่ภายใต้การดูแลและบำรุงรักษาของเทศบาล ซึ่งมีหน้าที่ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเขตเมืองหรือหมู่บ้าน โดยถนนเหล่านี้มักอยู่ในเขตเมืองหรือชุมชนหรือหมู่บ้านที่ครอบคลุมในเขตเทศบาล ถนนในความรับผิดชอบของ อบจ.ถนนที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) รับผิดชอบดูแลและบำรุงรักษา ซึ่งมีหน้าที่ในการพัฒนาและดูแลโครงสร้างพื้นฐานระดับจังหวัด โดยถนนเหล่านี้มักอยู่ในเขตเมืองใหญ่ ถนนในความรับผิดชอบของ อบต.ถนนที่องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) รับผิดชอบดูแลและบำรุงรักษา ซึ่งมีหน้าที่ในการพัฒนาและดูแลโครงสร้างพื้นฐานระดับตำบล โดยถนนเหล่านี้มักอยู่ในพื้นที่ชนบทหรือหมู่บ้านที่ไม่ครอบคลุมในเขตเทศบาล การแบ่งตามลักษณะภูมิประเทศ ถนนสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 แบบ ตามลักษณะภูมิประเทศ ได้แก่ ถนนในพื้นที่ราบถนนที่สร้างขึ้นในพื้นที่ที่ไม่ชันหรือขรุขระ เช่น พื้นที่ที่เป็นที่ราบลุ่ม หรือดินสภาพผิวเรียบ มักมีการออกแบบเพื่อรองรับการจราจรในระยะยาว  ถนนในพื้นที่ภูเขาถนนที่ขึ้นในพื้นที่ที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหรือเทือกเขา โดยมักมีลักษณะคดเคี้ยวและลาดชัน เพื่อเชื่อมต่อพื้นที่ที่มีความสูงชันหรือภูมิประเทศที่มีความขรุขระ ถนนในเขตเมืองถนนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เมืองหรือเขตชุมชนที่มีความหนาแน่นของประชากร โดยมักมีลักษณะหลายช่องทางเพื่อรองรับการจราจรที่หลากหลาย ถนนในเขตชนบทถนนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชนบท โดยมักมีการจราจรที่เบาบางและมีการใช้งานน้อยกว่าถนนในเมือง และมีลักษณะพื้นผิวที่หลากหลาย เช่น ถนนลูกรัง ถนนดิน ถนนคอนกรีต หรือถนนลาดยาง  ถนนในพื้นที่พิเศษ (เช่น เขตอุทยาน)ถนนที่สร้างขึ้นเพื่อให้การเข้าถึงพื้นที่พิเศษ ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นถนนลาดยางหรือหินคลุก และมักมีการควบคุมการใช้งานอย่างเข้มงวด การแบ่งตามความเร็วในการใช้งาน ถนนสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ ตามความเร็วในการใช้งาน ได้แก่ ถนนความเร็วสูง (100-120 กม./ชม.)ถนนที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการเดินทางด้วยความเร็วสูง โดยมีความเร็วที่อนุญาตให้ขับขี่ได้ระหว่าง 100-120 กม./ชม. ซึ่งมักจะเป็นถนนที่เชื่อมโยงระหว่างเมืองหรือระหว่างจังหวัด มีลักษณะการออกแบบที่เน้นความปลอดภัยและการเดินทางที่รวดเร็ว  ถนนความเร็วปานกลาง (80-90 กม./ชม.)ถนนที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการเดินทางด้วยความเร็วประมาณ 80-90 กม./ชม. ซึ่งมักเป็นถนนสายหลักที่เชื่อมต่อระหว่างอำเภอ จังหวัด หรือพื้นที่สำคัญในภูมิภาค โดยมีความปลอดภัยและความสะดวกในการขับขี่ในระดับที่เหมาะสมกับปริมาณจราจรปานกลาง ถนนความเร็วต่ำ (30-50 กม./ชม.)ถนนที่ออกแบบให้รองรับการเดินทางด้วยความเร็วประมาณ 30-50 กม./ชม. ซึ่งมักพบในเขตชุมชน หมู่บ้าน หรือพื้นที่ที่มีผู้คนอยู่หนาแน่นและมีผู้ใช้ถนนหลากหลาย โดยมีลักษณะเป็นถนนขนาดเล็กถึงปานกลาง  การแบ่งตามลักษณะการออกแบบ ถนนสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 แบบ ตามลักษณะการออกแบบ ได้แก่ ถนนสายหลักถนนที่เป็นเส้นทางหลักในการเดินทางระหว่างเมือง จังหวัด หรือภูมิภาคต่างๆ มีการออกแบบให้รองรับการจราจรที่หนาแน่นและการเดินทางระยะไกล มักมีหลายช่องจราจร และอนุญาตให้ขับขี่ด้วยความเร็วสูง ถนนสายรองถนนที่ใช้เชื่อมต่อถนนสายหลักกับพื้นที่ย่อย โดยทำหน้าที่กระจายการเดินทางจากถนนสายหลักไปยังจุดหมายในพื้นที่ต่างๆ มักมีการจราจรที่เบาบางและถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับการเดินทางในระยะใกล้ ถนนสายย่อยถนนที่ใช้เชื่อมต่อกับถนนสายรองหรือถนนสายหลัก เพื่อเข้าถึงพื้นที่เฉพาะ โดยมักมีการจราจรที่เบาบางมากและรองรับการเดินทางในระยะใกล้หรือภายในพื้นที่จำกัด ถนนซอยถนนขนาดเล็กที่แยกออกมาจากถนนสายหลักหรือสายรอง เพื่อเชื่อมต่อกับพื้นที่ย่อย โดยมักใช้สำหรับการเดินทางภายในพื้นที่ที่มีการอยู่อาศัยหนาแน่นหรือในเขตเมือง ถนนคนเดิน/ทางเท้าถนนที่ออกแบบมาเพื่อการเดินเท้าของผู้คนโดยเฉพาะ โดยไม่มีหรือมีการจำกัดการใช้ยานพาหนะ เพื่อความปลอดภัยและความสะดวกของคนเดินเท้า มักพบในพื้นที่ชุมชน เขตเมือง หรือพื้นที่การท่องเที่ยว  

2024-11-21 08:29:31

อ่านเพิ่มเติม
ลาดยางมะตอย: พื้นฐานความสำคัญ
ถนนลาดยางมะตอย คืออะไร ถนนลาดยางมะตอย หมายถึงถนนที่ผิวจราจรปูด้วยวัสดุยางมะตอย (Asphalt) เป็นวัสดุผสมของหินหรือทราย และสารยึดเกาะที่เป็นยางมะตอย ซึ่งถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความทนทานและให้ถนนมีความเรียบ ช่วยลดการสึกหรอของพื้นผิวจราจรจากการใช้งานที่หนักหน่วง นิยามของการลาดยางมะตอย การลาดยางมะตอย (Asphalt paving) หมายถึง กระบวนการปูพื้นผิวถนนหรือพื้นที่ต่าง ๆ ด้วยยางมะตอยผสมซึ่งถูกผลิตและอัดด้วยความร้อนสูง และทำการวางผิวถนนให้เรียบแน่น การลาดยางเป็นขั้นตอนสำคัญในงานก่อสร้างถนนที่ทำให้พื้นผิวทนทานต่อการขับขี่และยืดอายุการใช้งานของถนน นอกจากนี้การลาดยางมะตอยยังมีการบำรุงรักษาได้ง่ายกว่าเมื่อเทียบกับวัสดุอื่น ๆ เช่น คอนกรีต ประวัติความเป็นมาโดยย่อ ยางมะตอยมีประวัติการใช้งานมายาวนาน ย้อนไปตั้งแต่สมัยบาบิโลนโบราณที่มีการใช้ยางมะตอยในงานก่อสร้างต่าง ๆ แต่การลาดยางมะตอยในถนนอย่างแพร่หลายเริ่มต้นในยุคศตวรรษที่ 19 เมื่อมีการค้นพบว่าการใช้ยางมะตอยเป็นวัสดุปูพื้นถนนสามารถลดการเสียหายจากการสัญจรและสภาพอากาศได้ดีขึ้น โดยประเทศแรกที่นำยางมะตอยมาปูถนน คือประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อมางานลาดยางมะตอยบนถนนได้รับความนิยมมากขึ้นเมื่อเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม เพราะมีการพัฒนาระบบการขนส่งและความต้องการถนนที่ทนทานต่อการใช้งานมากขึ้น ความสำคัญต่อระบบคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งที่สะดวกและปลอดภัย: ถนนลาดยางช่วยให้การเดินทางและการขนส่งสินค้าราบรื่นขึ้น เนื่องจากพื้นผิวที่เรียบจะช่วยให้ยานพาหนะขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดความเสียหายต่อรถยนต์ ลดการสึกหรอของถนน: ยางมะตอยมีความยืดหยุ่นและสามารถรับน้ำหนักได้ดี จึงสามารถทนต่อการขยายตัวและหดตัวของวัสดุเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง ทำให้ทางลาดยางมะตอยคงทนต่อการใช้งานในระยะยาว การซ่อมแซมและบำรุงรักษาง่าย: การลาดยางมะตอยช่วยให้การบำรุงรักษาถนนเป็นไปได้อย่างสะดวก ซ่อมแซมได้ง่ายและรวดเร็ว โดยการเติมยางมะตอยใหม่ทับลงไปโดยไม่ต้องรื้อถนนเก่าออกทั้งหมด สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ: ถนนลาดยางมะตอยที่ดี จะทำให้การขนส่งและการเดินทางมีประสิทธิภาพ ส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ประเภทของยางมะตอยในงานก่อสร้าง ยางมะตอยชนิดเหลว (Cutback Asphalt): ยางมะตอยที่ผสมกับสารละลายจำพวกน้ำมัน เช่น น้ำมันเบนซินหรือดีเซล เพื่อทำให้ยางมะตอยเหลวและใช้งานได้ที่อุณหภูมิห้อง ใช้ง่ายและสะดวกโดยไม่จำเป็นต้องใช้ความร้อนในการละลายยางมะตอย ยางมะตอยอิมัลชัน (Emulsified Asphalt): ยางมะตอยที่ผสมน้ำโดยใช้สารอิมัลซิไฟเออร์ เพื่อสร้างส่วนผสมที่กระจายตัวได้ดี ยางมะตอยอิมัลชันจะแตกตัวเมื่อสัมผัสกับอากาศและยึดเกาะกับพื้นผิว ยางมะตอยซีเมนต์ (Asphalt Cement): ยางมะตอยแข็งที่ต้องอุ่นด้วยความร้อนสูงก่อนการใช้งาน ยางชนิดนี้มีความแข็งแรงและทนทานสูง มักใช้ในงานก่อสร้างถนนและทางหลวงที่ต้องรองรับน้ำหนักมาก ข้อดีและข้อจำกัดของแต่ละประเภท ยางมะตอยชนิดเหลว (Cutback Asphalt) มีข้อดีคือใช้งานได้ง่ายในสภาพอากาศเย็นและสถานที่ที่ไม่มีความร้อน แต่มีข้อเสียที่สำคัญคือการปล่อยสารระเหยที่ก่อให้เกิดมลพิษ และมีความทนทานต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับยางมะตอยประเภทอื่น ในขณะที่ยางมะตอยอิมัลชัน (Emulsified Asphalt) มีข้อดีในด้านการลดการปล่อยมลพิษ ประหยัดพลังงาน แต่ต้องการเทคโนโลยีในการผลิตที่ซับซ้อนและมีข้อจำกัดในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง ส่วนยางมะตอยซีเมนต์ (Asphalt Cement) จะมีข้อดีที่มีความแข็งแรงทนทานสูง ใช้ในงานลาดยางมะตอยที่ต้องรับน้ำหนักมาก แต่ต้องใช้พลังงานในการให้ความร้อน ทำให้มีต้นทุนสูงและเพิ่มการปล่อยมลพิษ ขั้นตอนการลาดยางมะตอย: จากเริ่มต้นถึงเสร็จสมบูรณ์ การเตรียมพื้นผิว: ทำความสะอาดพื้นผิวจากเศษหิน ดิน หรือสิ่งสกปรก ปรับระดับพื้นดินให้เรียบและเตรียมพร้อมสำหรับการลาดยางมะตอย การลงรองพื้น (Prime Coat): ใช้น้ำยารองพื้นเพื่อเคลือบพื้นผิวถนน ทำให้ชั้นยางมะตอยยึดเกาะกับพื้นผิวได้ดีขึ้น การลงชั้นยึดเกาะ (Tack Coat): ฉีดพ่นน้ำยาที่ช่วยยึดเกาะระหว่างชั้นยางมะตอยใหม่กับชั้นเก่า ทำให้แต่ละชั้นของทางลาดยางมะตอยยึดติดกันได้ดี ป้องกันการแยกตัวของชั้นผิวถนน การปูผิวทาง: ทำการลาดยางมะตอยลงบนพื้นผิวที่เตรียมไว้ โดยใช้เครื่องปูยางมะตอยเพื่อกระจายวัสดุอย่างสม่ำเสมอ การบดอัด: ใช้รถบดอัดเพื่อทำให้ยางมะตอยแน่นและเรียบ เพิ่มความแข็งแรงของถนนและป้องกันการยุบตัวหลังการใช้งาน การตรวจสอบคุณภาพ: ตรวจสอบความเรียบ ความหนา การยึดเกาะของชั้นผิว รวมถึงทดสอบการรองรับน้ำหนัก เพื่อให้แน่ใจว่าถนนที่ลาดยางมะตอยแล้วมีคุณภาพและทนทานต่อการใช้งาน เครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับงานลาดยางมะตอย รถบดถนน: ใช้ในการบดอัดพื้นผิวถนนหลังจากลาดยางมะตอย เพื่อให้ยางมะตอยมีความแน่นและเรียบเสมอ เครื่องพ่นยาง: ใช้ในการพ่นชั้นยางมะตอยลงบนพื้นผิวในขั้นตอนการลงรองพื้น (Prime Coat) และชั้นยึดเกาะ (Tack Coat) เพื่อให้ทางลาดยางมะตอยยึดเกาะกับพื้นผิวถนนได้ดีขึ้น รถปูยางมะตอย: เครื่องจักรที่ใช้ในการลาดยางมะตอยอย่างสม่ำเสมอและได้ความหนาตามที่กำหนด รถปูยางมะตอยช่วยเพิ่มความเร็วในการทำงานและความแม่นยำในการปูพื้นผิวถนน อุปกรณ์วัดและตรวจสอบคุณภาพ: เครื่องมือสำหรับการตรวจสอบคุณภาพของถนน เช่น เครื่องวัดความหนาของชั้นยางมะตอย เครื่องวัดความเรียบของผิวทางลาดยางมะตอย และเครื่องทดสอบความแน่นของการบดอัด ประโยชน์ของถนนลาดยางมะตอย ความทนทานและอายุการใช้งาน: ถนนลาดยางมะตอยมีความแข็งแรง ทนทานต่อการใช้งานในระยะยาว รองรับน้ำหนักยานพาหนะหนักได้ดี อีกทั้งสามารถซ่อมแซมได้ง่าย ช่วยยืดอายุการใช้งานของถนนให้นานขึ้น การระบายน้ำและความปลอดภัย: ทางลาดยางมะตอยมีคุณสมบัติในการระบายน้ำที่ดี ลดการสะสมของน้ำบนผิวถนน อีกทั้งยังมีการยึดเกาะผิวทางที่ดี ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ได้ดี ความสะดวกสบายในการขับขี่: งานลาดยางมะตอยจะมีความเรียบ ทำให้การขับขี่ราบรื่น ลดแรงสั่นสะเทือนจากถนน ลดเสียงรบกวนจากการจราจรได้ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพงานลาดยาง สภาพภูมิอากาศและอุณหภูมิ: การลาดยางมะตอยต้องทำในสภาพอากาศที่เหมาะสม ไม่มีฝนตกและอุณหภูมิไม่เย็นเกินไป เพราะความชื้นและอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้ยางมะตอยไม่เกาะติดกับพื้นผิวได้ คุณภาพของวัสดุที่ใช้: ยางมะตอยและวัสดุที่ใช้ในการปู เช่น หินและทราย ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด หากวัสดุไม่ได้คุณภาพ จะทำให้งานลาดยางมะตอยมีความทนทานต่ำ เสี่ยงต่อการเสียหายในระยะเวลาอันสั้น เทคนิคและทักษะของผู้ปฏิบัติงาน: ทักษะของผู้ปฏิบัติงานมีบทบาทสำคัญในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเตรียมพื้นผิว การลาดยางมะตอย ไปจนถึงการบดอัด หากเทคนิคและขั้นตอนการทำงานไม่ถูกต้องจะส่งผลให้ถนนมีคุณภาพต่ำ ไม่สม่ำเสมอ การควบคุมคุณภาพระหว่างการก่อสร้าง: การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพในระหว่างการลาดยาง เช่น การตรวจสอบความเรียบของผิวถนนและการบดอัด จะช่วยให้มั่นใจว่าถนนที่สร้างขึ้นมีมาตรฐานและทนทานต่อการใช้งานในระยะยาว การบำรุงรักษาถนนลาดยางมะตอย การตรวจสอบสภาพถนนเป็นประจำ: เพื่อตรวจเช็กสภาพของพื้นถนนลาดยางมะตอยและระบุปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น รอยแตก หลุมบ่อ หรือการเสื่อมสภาพของผิวถนน ซึ่งจะทำให้สามารถดำเนินการบำรุงรักษาได้อย่างทันท่วงที การซ่อมแซมรอยแตกและหลุมบ่อ: การใช้วัสดุที่เหมาะสมและเทคนิคการซ่อมที่ถูกต้อง จะช่วยให้ทางลาดยางมะตอยกลับมามีสภาพดีและยืดอายุการใช้งานได้ การเคลือบผิวใหม่ (Resurfacing): เพื่อเพิ่มความทนทานของผิวถนนและปรับปรุงความเรียบของพื้นผิวถนน กระบวนการนี้มักใช้ในกรณีที่ผิวถนนลาดยางมะตอยเก่ามีสภาพไม่ดีแต่โครงสร้างพื้นฐานยังคงอยู่ในสภาพดี แผนการบำรุงรักษาระยะยาว: เพื่อจัดสรรทรัพยากรและเวลาให้มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการกำหนดงบประมาณในการบำรุงรักษาและซ่อมแซม ซึ่งจะช่วยรักษาคุณภาพและความปลอดภัยของถนนในระยะยาว นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ในงานลาดยาง ยางมะตอยผสมยางพารา: เพิ่มคุณสมบัติของผิวถนน ทั้งความยืดหยุ่น ความทนทานต่อการแตกหัก และการยึดเกาะที่ดีขึ้น อีกทั้งยางมะตอยผสมยางพารายังช่วยลดเสียงรบกวนจากการจราจรและเพิ่มความสะดวกสบายในการขับขี่ด้วย เทคโนโลยีการลาดยางแบบประหยัดพลังงาน: นวัตกรรมนี้มุ่งเน้นที่การลดการใช้พลังงานในกระบวนการลาดยาง เช่น การใช้เทคโนโลยีการอุ่นยางมะตอยที่มีประสิทธิภาพสูง การใช้ระบบควบคุมอัตโนมัติในกระบวนการผลิต ซึ่งไม่เพียงแต่ลดต้นทุน แต่ยังช่วยลดการปล่อยมลพิษและก๊าซเรือนกระจก การใช้วัสดุรีไซเคิลในการลาดยาง: เช่น การนำยางรถยนต์เก่าและวัสดุเหลือใช้จากการก่อสร้างมาผสมกับยางมะตอย เพื่อลดปริมาณของเสียที่ส่งไปยังหลุมฝังกลบ นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดทรัพยากรธรรมชาติและลดต้นทุนในการผลิตวัสดุใหม่ เปรียบเทียบ: ลาดยางมะตอยกับวัสดุอื่นในการสร้างถนน ถนนลาดยางมะตอย และถนนคอนกรีต เป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมสำหรับสร้างถนนในปัจจุบัน โดยถนนลาดยางมะตอยจะมีจุดเด่นในด้านค่าก่อสร้างที่ต่ำกว่า ก่อสร้างเร็ว และบำรุงรักษาง่าย แต่มีอายุการใช้งานสั้นกว่า ประมาณ 10 ถึง 15 ปี และไม่สามารถรับน้ำหนักได้มากเท่าถนนคอนกรีต ซึ่งมีอายุการใช้งานยาวนานกว่า 20 ถึง 30 ปี และทนทานต่อการทรุดตัว แต่ค่าก่อสร้างสูงและซ่อมแซมยากกว่าพอสมควร จึงทำให้ทั้งคู่ต่างมีความเหมาะสมต่อการใช้งานที่แตกต่างกันไป ดังนั้นหากต้องการสร้างถนนในเขตเมืองที่มีการจราจรน้อยจะเหมาะกับทางลาดยางมะตอยมากกว่า ในขณะที่ถนนที่ต้องรองรับน้ำหนักมาก อย่างถนนในเขตอุตสาหกรรม ควรใช้ถนนคอนกรีตเป็นหลักจะดีที่สุด กรณีศึกษา: โครงการลาดยางมะตอยที่โดดเด่นในไทย โครงการก่อสร้างถนนวงแหวนรอบ 2 จังหวัดเชียงใหม่ ถือเป็นโครงการลาดยางมะตอยที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เพราะมีการนำยางมะตอยผสมยางพารา และเทคโนโลยีการลาดยางแบบประหยัดพลังงานมาใช้ ซึ่งช่วยลดการใช้พลังงานและค่าใช้จ่ายในกระบวนการก่อสร้าง ทั้งนี้ยังมีการติดตั้งระบบเซนเซอร์ สำหรับตรวจสอบสภาพถนนและการจราจรในระยะเวลาจริง ช่วยให้สามารถจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที ผลลัพธ์ที่ได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการวางแผนและออกแบบงานลาดยางมะตอยที่ดี การมีระบบการจัดการการจราจรที่มีประสิทธิภาพ และการบำรุงรักษาที่ต่อเนื่อง อันเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาคุณภาพถนนและความปลอดภัยของผู้ใช้ถนน FAQ: คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการลาดยางมะตอย อายุการใช้งานของถนนลาดยางมะตอย ทางลาดยางมะตอยทั่วไปมีอายุการใช้งานประมาณ 10 ถึง 15 ปี ขึ้นอยู่กับคุณภาพของวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง การบำรุงรักษา และสภาพการจราจรที่ถนนนั้นรองรับ การซ่อมแซมและบำรุงรักษา งานลาดยางมะตอยที่มีปัญหาความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นรอยแตกหรือหลุม ควรได้รับการซ่อมแซมทันที เพื่อป้องกันความเสียหายเพิ่มเติม โดยวิธีที่นิยมคือการเติมยางมะตอยใหม่ในบริเวณที่เสียหาย ข้อควรระวังในการใช้งาน ถนนลาดยางมะตอยที่ผ่านการใช้งานมายาวนาน มีโอกาสที่จะเกิดรอยแตกหรือเป็นหลุมได้ จึงมักมีน้ำขัง ผู้ขับขี่หรือใช้งานทางลาดยางมะตอยจึงควรหลีกเลี่ยงบริเวณน้ำขัง เพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย มาตรฐานและข้อกำหนดในการลาดยางมะตอย มาตรฐานการก่อสร้างของกรมทางหลวง กรมทางหลวงของประเทศไทยมีการกำหนดมาตรฐานเฉพาะสำหรับการก่อสร้างถนนลาดยางมะตอย เพื่อให้มั่นใจว่าถนนมีความแข็งแรงและปลอดภัยสำหรับการใช้งาน โดยมีการกำหนดทั้งวัสดุที่ใช้และวิธีการก่อสร้าง ต้องเป็นไปตามมาตรฐานของกรมทางหลวงในด้านความแข็งแรง การทนทานต่อสภาพอากาศ และความสามารถในการยึดเกาะ มาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้อง มาตรฐาน ASTM สำหรับการทดสอบคุณภาพของวัสดุที่ใช้ในงานลาดยาง มาตรฐาน AASHTO ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและการก่อสร้างทางลาดยางมะตอย และมาตรฐาน ISO ที่เน้นในด้านการจัดการคุณภาพและการควบคุมการผลิตวัสดุเพื่อให้มีความปลอดภัยและทนทาน การควบคุมคุณภาพและการทดสอบ กระบวนการสำคัญที่จะช่วยให้มั่นใจว่าถนนที่สร้างขึ้นจะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานและปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งาน การทดสอบคุณภาพของงานลาดยางมะตอยจะต้องทำในทุกขั้นตอนของการก่อสร้าง ตั้งแต่การทดสอบคุณภาพวัสดุ ความแน่นของการบดอัด ความเรียบของผิวทาง และการรองรับน้ำหนัก ไปจนถึงขั้นตอนการลาดยางมะตอย เพื่อให้ถนนแข็งแรงและปลอดภัยที่สุด บริการลาดยางมะตอย กับ Sirimarts Sirimarts หรือศิริมาตร์ ก่อสร้าง เราเป็นผู้ให้บริการรับลาดยางมะตอยทำพื้นถนนและงานลาดยางมะตอยในการก่อสร้างแบบครบวงจร รับประกันงานคุณภาพ โดยใช้วัสดุคุณภาพสูงและเทคโนโลยีทันสมัย ทำให้กระบวนการก่อสร้างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ราคาถูก คุณภาพคุ้มค่าเกินราคา พร้อมให้บริการทุกท่านด้วยทีมผู้ชำนาญงานประสบการณ์กว่า 20 ปี

2024-10-25 02:28:06

อ่านเพิ่มเติม
ยางแอสฟัลท์ หรือ ยางมะตอย กับคุณประโยชน์ที่คาดไม่ถึง
ยางมะตอย หรือแอสฟัลต์ (Asphalt) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ และสามารถเกิดขึ้นเองได้ตามธรรมชาติ เป็นผลิตภัณฑ์หลักสำหรับการก่อสร้างถนน และทางท้าว มีการใช้ทั้งในภาคอุตสาหกรรมในด้านคมนาคม และการก่อสร้าง รวมถึงการนำมาใช้ประโยชน์สำหรับภาคครัวเรือนที่เกี่ยวข้องกับถนนหรือทางท้าว advertisement   การผลิตยางมะตอยที่ใช้ในปัจจุบันผลิตมาจากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบเป็นหลัก สำหรับภาคครัวเรือนสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายวัสดุก่อสร้างทั่วไปซึ่งเป็นยางมะตอยสำเร็จรูปที่มีส่วนผสมพร้อมใช้งาน ส่วนยางมะตอยที่เกิดจากธรรมชาติหรือเบอร์มูเดชแอสฟัลต์ (Bermudez asphalt) จะพบน้อยมาก เช่น บริเวณชายฝั่งของเวเนซูเอลา ชนิดของยางมะตอย1. แอสฟัลต์ซีเมนต์ เป็นยางมะตอยแท้ที่เป็นพื้นฐานของยางมะตอยอีกสองชนิด ผลิตได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ มีลักษณะเป็นสีดำหรือสีน้ำตาลปนดำ มีลักษณะเป็นกึ่งของแข็งประกอบด้วยบิทูเมนเป็นหลัก สามารถหลอมเหลวเมื่อได้รับความร้อน ซึ่งก่อนใช้ต้องผ่านความร้อนประมาณ 140-150 องศาเซลเซียสก่อน เมื่อแห้งจะแข็งทำให้เป็นวัสดุประสาน และยึดเกาะวัสดุต่างๆได้ดี แบ่งเป็นเกรดต่างๆ ตามค่าเพนิเทรชันเป็น 5 เกรด คือ 40-50, 60-70, 80-100, 120-150และ 200-300 โดยเกรดที่มีค่าตัวเลขมากจะแสดงถึงความอ่อนของยางมะตอยที่มากด้วย ซึ่งเกรด 200-300 จะอ่อนที่สุด โดยที่อุณหภูมิห้องเมื่อใช้นิ้วกดเบาๆจะเกิดรอบบุ๋มได้ง่าย ส่วนเกรด 40-50 เป็นเกรดที่แข็งที่สุด ต้องใช้แรงกดเพิ่มขึ้นจึงจะทำให้เกิดรอย นอกจากนั้น แอสฟัลต์ซีเมนต์ ยังแบ่งออกเป็น 3 เกรด ได้อีก คือ – เกรดเป่า (Blown grade) คือ ยางมะตอยที่ได้จากการนำยางมะตอยเกรดเพนิเทรชันไปเป่าที่ความร้อน 250-300 องศาเซลเซียส จนยางมะตอยมีปริมาณของ asphaltances เพิ่มขึ้น ทำให้มีความแข็ง และทนความร้อนได้ดีขึ้น ยางมะตอยเกรดนี้ ได้แก่ R 85/25, R 85/40, R 115/15, R 138/10 และ R 155/7 เป็นต้น (R หมายถึง คุณลักษณะคล้าายยาง, ตัวเลขด้านหน้า หมายถึง อุณหภูมิของยางมะตอยที่จุดอ่อนตัว และ ตัวเลขด้านหลัง หมายถึง ค่าเพนิเทรชันเฉลี่ยของยางมะตอย)– เกรดแข็ง (Hard grade) คือ ยางมะตอยที่ได้จากการนำยางมะตอยเกรดเพนิเท รชันไปกลั่นในระบบสูญญากาศที่อุณหภูมิสูง ทำให้ยางมะตอยมีความแข็งมากขึ้น เกรดยางมะตอยชนิดนี้ ได้แก่ H 80/90 (H หมายถึง ยางมะตอยที่มีความแข็งสูง, ตัวเลขด้านหน้า หมายถึง อุณหภูมิของยางมะตอยที่จุดอ่อนตัว และ ตัวเลขด้านหลัง หมายถึง ค่าเพนิเทรชันของยางมะตอย ) 2. คัทแบคแอสฟัลต์ เป็นยางมะตอยที่มีส่วนผสมของแอสฟัลต์ซีเมนต์กับตัวทำละลายเพื่อลดความหนือ เหมาะ และสะดวกต่อการใช้งานโดยไม่ต้องผ่านความร้อน เมื่อตัวทำละลายระเหยไปจะทำให้ยางมะตอยมีเนื้อแข็งขึ้น ทำหน้าที่ประสานวัสดุต่างให้ยึดเกาะกันแน่น โดยยางมะตอยชนิดนี้จะแบ่งเป็นเกรดต่างๆตามสัดส่วน และชนิดของตัวทำละลาย เช่น ชนิด RC ใช้แก๊สโซลีนเป็นตัวทำละลาย ชนิด MC ใช้คีโรซีนเป็นตัวทำละลาย สำหรับเกรดของยางมะตอยชนิดนี้ แบ่งเป็น 3 เกรด คือ– เกรดระเหยไว (Rapid curing) ได้แก่ RC 70, RC 250, RC 800– เกรดระเหยปานกลาง (Medium curing) ได้แก่ MC 30, MC 70, MC 3000– เกรดระเหยช้า (Slow curing) ได้แก่ SC 70, SC 800 3. แอสฟัลต์อิมัลชัน หรือ ยางมะตอยน้ำ เป็นยางมะตอยที่เกิดจากการผสมระหว่างแอสฟัลต์ซีเมนต์กับน้ำที่อุณหภูมิ 120 องศาเซลเซียส ด้วยการเติมสารอิมัลซิไฟด์เพื่อให้ยางมะตอยสามารถรวมตัวกับน้ำได้ดี ซึ่งจะทำให้แอสฟัลต์ซีเมนต์แตกตัวกระจายออกในรูปของหยดขนาดเล็กผสมกับน้ำ ซึ่งโดยทั่วไปแอสฟัลต์อิมัลชันจะประกอบด้วยแอสฟัลต์ซีเมนต์ 55-75% สารอิมัลซิไฟด์ 3% และส่วนที่เหลือจะเป็นน้ำ 22-42% แต่ทั้งนี้ อาจมีการเพิ่มสารอื่นๆด้วย เช่น สารเพิ่มความเสถียร สารป้องกันการหลุดลอก สารบำรุงการเคลือบ เป็นต้น ยางมะตอยชนิดนี้เมื่อใช้งาน น้ำจะระเหยออกไป และเกิดการรวมตัวของแอสฟัลต์ซีเมนต์เป็นของแข็งยึดเกาะวัสดุ ชนิดของแอสฟัลต์อิมัลชัน แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ1. ชนิดประจุบวก เหมาะสมหรับใช้งานกับวัสดุประเภทหินแกรนิต หินปูน หินบะซอล์2. ชนิดประจุลบ เหมาะสมหรับใช้งานกับวัสดุประเภทหินทราย สำหรับเกรดของยางมะตอยชนิดนี้ แบ่งเป็น 3 เกรด คือ– เกรดแตกตัวเร็ว (Rapid setting) ได้แก่ CRS 1, CRS 2– เกรดแตกตัวเร็วปานกลาง (Medium setting) ได้แก่ CMS 2, CMS 2h– เกรดแตกตัวเร็วช้า (Slow setting) ได้แก่ CSS 1, CSS 1h องค์ประกอบยางมะตอยองค์ประกอบทางเคมีของยางมะตอยจะประกอบด้วยบิทูเมน (Bitumen) เป็นหลัก ซึ่งเป็นสารจำพวกไฮโดรคาร์บอนจากองค์ประกอบของน้ำมันดิบหลังจากการกลั่น ประกอบด้วยสารที่ไม่ระเหยเป็นส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็นของเหลวกึ่งของแข็งที่มีความหนืดสูง มีดำหรือน้ำตาลออกดำ สามารถอ่อนตัวเหลวหนืดเมื่อได้รับความร้อน ไม่ละลาย และไม่ซึม ส่วนองค์ประกอบทางกายภาพ ได้แก่1. Asphaltances มีลักษณะเป็นผงสีดำหรือสีน้ำตาลออกดำ ไม่ละลายง่ายเมื่อได้รับความร้อน แต่จะติดไฟเมื่อเกิดความร้อนที่สูง2. Asphaltic Resins มีลักษณะเป็นของแข็ง เปราะง่าย มีสีน้ำตาลแก่ เปลี่ยนสภาพได้ง่าย และหลอมเหลวที่อุณหภูมิ 200 องศาเซลเซียส3. Oily Constituents มีลักษณะหนืด สีน้ำตาลแก่  คุณสมบัติของยางมะตอยที่ดี1. สามารถเกาะรวมกับวัสดุผสมได้ทันทีเมื่อได้รับความร้อนที่มีการอ่อนตัว2. ป้องกันน้ำซึมได้ดี3. มีความทนทานต่อลม แสงแดด ความเป็นกรด-ด่าง เกลือ และสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดี4. มีความยืดยุ่น และทนต่อแรงกด แรงสั่นสะเทือนได้ดี

2018-05-22 01:29:14

อ่านเพิ่มเติม
ยางแอสฟัลท์ หรือ ยางมะตอย กับคุณประโยชน์ที่คาดไม่ถึง
หากกล่าวถึงยางแอสฟัลท์หลายคนอาจไม่รู้จัก แต่ถ้าเป็นยางมะตอย ส่วนมากรู้จักดีว่าเป็นยางดำแข็งเหนียวที่เมื่อทำให้ร้อนแล้วจะหลอมละลายเป็นของเหลวนำไปราดบนหินเพื่อทำเป็นผิวทางลาดยาง เมื่อก่อนที่จะมีรถยนต์ เราใช้ม้าหรือรถม้าวิ่งสัญจรกันฝุ่นตลบ ต้องคอยใช้น้ำราดถนน บางทีก็ใช้ส่าน้ำตาลหรือน้ำมันเตาที่เหนียวมาราดบนถนนดินหรือลูกรัง เพื่อมิให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย มาถึงยุคใช้รถยนต์ที่วิ่งได้เร็วกว่า จึงมีการก่อสร้างถนนลาดยางโดยใช้แอสฟัลท์ราดบนหินที่อัดตัวกันแน่น เพื่อให้มีความแข็งแรงและไร้ฝุ่น จึงเป็นที่มาของคำว่าถนนราดยาง ต่อมาวิธีการก่อสร้างผิวทางเปลี่ยนมาเป็นการปูลาดผิวทางด้วยวัสดุแอสฟัลท์คอนกรีต จึงเรียกกันว่าถนนลาดยาง จริงเท็จประการใดคงต้องให้ผู้รู้ภาษาไทยดีมายืนยันอีกทีหนึ่ง

2018-05-21 20:24:21

อ่านเพิ่มเติม
แอสฟัลท์ (cut back) เป็นยางเหลวที่อุณหภูมิปกติที่ได้จากการใช้ยาง
หากกล่าวถึงยางแอสฟัลท์หลายคนอาจไม่รู้จัก แต่ถ้าเป็นยางมะตอย ส่วนมากรู้จักดีว่าเป็นยางดำแข็งเหนียวที่เมื่อทำให้ร้อนแล้วจะหลอมละลายเป็นของเหลวนำไปราดบนหินเพื่อทำเป็นผิวทางลาดยาง เมื่อก่อนที่จะมีรถยนต์ เราใช้ม้าหรือรถม้าวิ่งสัญจรกันฝุ่นตลบ ต้องคอยใช้น้ำราดถนน บางทีก็ใช้ส่าน้ำตาลหรือน้ำมันเตาที่เหนียวมาราดบนถนนดินหรือลูกรัง เพื่อมิให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย มาถึงยุคใช้รถยนต์ที่วิ่งได้เร็วกว่า จึงมีการก่อสร้างถนนลาดยางโดยใช้แอสฟัลท์ราดบนหินที่อัดตัวกันแน่น เพื่อให้มีความแข็งแรงและไร้ฝุ่น จึงเป็นที่มาของคำว่าถนนราดยาง ต่อมาวิธีการก่อสร้างผิวทางเปลี่ยนมาเป็นการปูลาดผิวทางด้วยวัสดุแอสฟัลท์คอนกรีต จึงเรียกกันว่าถนนลาดยาง จริงเท็จประการใดคงต้องให้ผู้รู้ภาษาไทยดีมายืนยันอีกทีหนึ่ง ยางแอสฟัลท์ (asphalt) หรือ ไบน์เดอร์ (binder) เป็นศัพท์ที่ชาวอเมริกันใช้เรียกยางมะตอย แต่ชาวอังกฤษจะเรียกว่า บิทูเมน (bitumen) เป็นวัสดุที่เกิดในธรรมชาติและเป็นผลพลอยได้จากการกลั่นน้ำมัน มีแหล่งกำเนิดจาก 3 แหล่งใหญ่ๆ คือ ในธรรมชาติเป็นหินแอสฟัลท์ (rock asphalt) ที่นำมาเผาเอาแอสฟัลท์ออกมาจากแหล่งใต้ดินที่เป็นบ่อแอสฟัลท์อยู่ลึกลงไปในดิน lake asphalt มีมากใน Trinidad ในสหราชอาณาจักรอังกฤษ และจากการกลั่นน้ำมันดิบ หลังจากกลั่นเอาเบนซินและดีเซลออกไปที่เหลืออยู่เป็นยางแอสฟัลท์แข็ง (asphalt cement, AC.) ที่มีความเข้มข้นและแข็ง ต่างกันไปตามสภาพของแหล่ง ยางแอสฟัลท์ที่ใช้ทำผิวทางในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1. แอสฟัลท์ซีเมนต์ AC. เป็นยางที่ได้จากหินแอสฟัลท์ธรรมชาติ หรือผลพลอยได้จากการกลั่นน้ำมัน มีลักษณะแข็งและเหนียว ยางนี้ยังแบ่งซอยออกเป็นชนิดต่างๆ ตามความแข็งซึ่งวัดเป็นค่า penetration grade, pen. การวัดค่า pen. นี้ ทำโดยเอาตัวอย่างยางใส่ลงในกระป๋องเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 ซม. สูง 3-5 ซม. แช่ในน้ำที่มีอุณหภูมิคงที่ 25o c แล้วใช้เข็มที่ติดตั้งบนแท่นกดลงบนผิวยาง ในช่วงเวลาหนึ่งเข็มจมลงไปเท่าไรก็เป็นค่า pen ของยางนั้น โดยจะมีค่าตั้งแต่ 10 ถึง 120 pen. ตัวเลขน้อยแสดงว่ายางยิ่งแข็งมาก จะหลอมละลายด้วยความร้อนได้ช้ากว่า เวลาใช้งานทำผิวทางต้องนำไปให้ความร้อนเพื่อหลอมละลายเป็นของเหลวก่อน 2. ยางคัตแบกแอสฟัลท์ (cut back) เป็นยางเหลวที่อุณหภูมิปกติที่ได้จากการใช้ยาง AC ผสมกับสารทำละลาย เพื่อให้ยางแข็ง AC นั้นเหลวอ่อนลง เพื่อให้สะดวกในการใช้งาน ไม่ต้องให้ความร้อนสูงมาก แบ่งออกเป็นชนิดใหญ่ๆได้ 3 กลุ่ม คือ 1.1 rapid curing, RC. เป็นยางเหลวที่ผสมยาง AC กับสารตัวทำละลายที่เป็นน้ำมันเบนซิน เมื่อนำไปใช้งาน น้ำมันเบนซินจะระเหยออกไปได้เร็ว เหลือแต่ยางแข็ง AC จับอยู่บนหินผิวทาง ยางชนิดนี้ยังแบ่งออกเป็นเกรดต่างๆ ตามความหนืดเหนียวของมัน เช่น RC0 , RC1 ถึง RC5 ตัวเลขยิ่งมากความเหนียวหนืดก็มีมาก จะระเหยได้ช้ากว่า บางทีการแบ่งเกรดใช้ตามระบบการวัดความหนืดเป็น RC1000 หรือ RC2000 ซึ่งก็มีความหมายคล้ายๆ กัน 1.2 medium curing, MC. เป็นยางเหลวที่ผสมยาง AC กับสารตัวทำละลายพวกน้ำมันก๊าซ ซึ่งการระเหยตัวของ สารทำละลายนี้จะช้ากว่าเบนซิน เหมาะกับงานผิวทางบางชนิดที่ไม่ต้องการให้มันระเหยตัวเร็วเกินไป เช่น งานไพร์มโค้ดที่ต้องการทิ้งระยะเวลาให้น้ำยางซึมลงไปตามร่องช่องว่างของชั้นหินพื้นทางเพื่อเป็นรากยึดเกาะผิวทางกับชั้นพื้นทาง มีการแบ่งเกรดต่างๆ เช่นเดียวกับพวก RC 1.3 slow curing, SC. เป็นยางเหลวที่ผสมยาง AC กับสารตัวทำละลายพวกน้ำมันดีเซล ซึ่งการระเหยตัวยิ่งช้ามากกว่าสองตัวแรก

2018-05-21 20:19:26

อ่านเพิ่มเติม
ดูทั้งหมด

ติดต่อเรา!


โทรหาเราหรือส่งอีเมลถึงเราและเราจะติดต่อกลับโดยเร็วที่สุด!